10 ข้อเท็จจริง ของคนไข้และหมอ ที่ห้องฉุกเฉิน
1 min read
10 ข้อเท็จจริง ของคนไข้และหมอ ที่ห้องฉุกเฉิน

10 ข้อเท็จจริง ของคนไข้และหมอ ที่ห้องฉุกเฉิน
- คนที่นั่งรถเข็น/นอนเปล ร้องโอดโอยมาเสียงดังอาจไม่ใช่คนไข้ฉุกเฉินเสมอไป ผิดกับบางคนแม้เดินมาตรวจเหมือนปกติ แต่อาจกลายเป็นคนไข้หนัก อาการรุนแรงก็ได้ /จนหมอหลายคน อาจเคยอุทานว่า “เชี่ย คนนี้เดินมาตรวจได้ไงว่ะ อึดจริงๆ”
- โรงบาลไม่ใช่โรงแรม หมอจะให้นอนก็ต่อเมื่อจำเป็น หรือ มีข้อบ่งชี้เท่านั้น ไม่ใช่ขึ้นกับความ”อยาก”นอน, ถ้าตรวจแล้วไม่จำเป็นต้องนอนก็คือไม่นอน จะมาอีก10รอบก็ไม่ได้นอน/ ยกเว้นหมอคนเดิมลงเวร ,ก็มา รพใหม่ ไปขอหมอคนใหม่ดู ถ้าไม่ได้ก็รอเวรถัดไปเรื่อยๆ จนกินยาหายป่วยไปเอง, เบื่อหมอคนเดิม ก็รอไป คนนึงอยู่เวรER เต็มที่ก็16 ชม.(ตามระเบียบนะ แต่อาจมากกว่านี้ได้ ขึ้นกับความถึก)
คติที่เป็นอนิจจัง ก็คือ คนที่ควรนอน มักไม่นอน
แต่คนที่ไม่นอนควร ก็อยากนอนกันจัง - ตรวจห้องฉุกเฉิน ไม่จำเป็นต้องตามคิวเสมอไป เอาที่ฉุกเฉิน อันตรายต่อชีวิต มาก่อน (ซึ่งฉุกเฉินของหมอก็เป็นรูปธรรม วัดได้จากความดัน ชีพจร ออกซิเจนในเลือด +อื่นๆ /ส่วนนามธรรม ก็ฟังหูไว้หูแต่ไม่ยึดเป็นข้อมูลในการรักษา เช่น ปากบอกกูจะตายแล้วโว้ย แต่ตรวจรูปธรรม แล้วยังปกติดี ความดันไม่ต่ำ คือยังไม่ตายยังหายใจ อันนี้ก็ไม่ฉุกเฉิน ยังรอได้)
- ถ้ายังไม่เจอหมอ ให้พยาบาลตรวจไปก่อน รักษาเหมือนกัน ความรู้โรคพื้นฐานเท่ากัน เช่น พ่นยาแก้หอบ ตรวจคลื่นหัวใจ เจาะน้ำตาลในเลือด ให้ยากินเบื้องต้น พยาบาลทำได้หมด นอกจากจะซับซ้อน เค้าตามหมอมาให้เอง
- มาตรวจฉุกเฉินหลังเที่ยงคืน ตอนพยาบาลซักประวัติ ถ้าบอกว่าอาการที่เป็นอยู่ เป็นมานานเกิน3วัน ความฉุกเฉินและความน่าใส่ใจ อาจลดลงถึง 50%(เป็นนานขนาดนั้น กลางวันโรงบาลก็เปิด ทำไมไม่รู้จักมาจ๊ะ อุปกรณ์ก็ครบกว่า /หมอก็สติดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่ากลางคืน )
- อุปกรณ์บางอย่าง เช่นขวดน้ำเกลือ ยาบางตัว เวชภัณฑ์อื่นๆ ญาติต้องไปเบิกมาให้คนไข้เอง, ไม่ยาก แค่ยื่นใบสั่งยา หยิบของ แล้วเดินเอามาให้พยาบาล , ยืนเก้ๆกังๆไม่ถามใคร คนไข้ก็ได้รับการรักษาได้ยาช้าลง
- ในห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่ ของทุก รพ มีกล้องวงจรปิดติดตั้งอยู่ , ถ้าท่านหยิบมือถือมาถ่าย จะแชร์จะอัพจะด่า มันก็มีแค่บางช่วงที่ท่านต้องการ/ แต่ของ รพ มีหลักฐานบันทึกตลอดทั้งเหตุการณ์จ๊ะ
ใครทำอะไร ใครถูกใครผิด ในกล้องมีหมด ไม่เสียเหมือนตามสี่แยกจราจรด้วย - หมอใช้โทรศัพท์มือถือในห้องฉุกเฉิน ส่วนมากใช้เพื่อส่งรูปฟิล์มเอกซเรย์/ กราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ/ หรือ Consult เคสกับแพทย์เฉพาะทาง , ไม่ค่อยมีใครมีอารมณ์แชทLine เล่นเฟส หรือ เล่นเกมส์ในห้องฉุกเฉิน เพราะวุ่นวาย เสียงดัง ,ถ้าจะเล่น ไปนั่งเล่นในห้องพักแพทย์ส่วนตัวดีกว่า สะดวกสบายกว่าเยอะ
- กรณีต้องปั๊มหัวใจ ระเบียบใหม่ให้ญาติเข้ามาดูการทำงานได้ แต่อย่ามากจนรบกวนการทำงาน อยู่คนเดียวก็พอที่มีสติดี และตัดสินใจต่างๆแทนคนอื่นได้/ จะได้เห็นว่าหมอรักษา ทำอะไรไปแล้วบ้าง , ถ้าให้รอข้างนอกกันหมด เดี๋ยวก็มีคำพูดว่า”หมอไม่ทำอะไร”ตามมาอีก
- หมอห้องฉุกเฉินบอกโรคนึง แต่พอนอน รพ แล้วหมอที่มาตรวจ อาจบอกอีกอย่างนึงก็ได้ เพราะอาการและผลเลือดเป็น Dynamic เปลี่ยนแปลงได้ตลอด, ไม่ใช่หมอห้องฉุกเฉินกาก แต่หน้าที่ฉุกเฉินคือคัดกรอง ไม่ใช่รักษารู้หมดในไม่กี่นาที เพราะบางโรคบางอาการ ต้องรอผลเลือดและผลตรวจเพิ่มเติม
เครดิต
https://www.facebook.com/docfriend
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
สารพัดประโยชน์จาก ‘ลูกเดือย’
เคยไหม? ช่วยคนอื่นจนตัวเองลำบาก
พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ตรวจได้จาก ‘เลือด’
4 ระดับความผิดฐานรถชนโดยประมาท
15 นาทีกับ 6 วิธีดูแลรักษารถยนต์ แบบง่ายๆด้วยตัวคุณเอง
เรื่องน่ารู้ัเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี
วิธีดูแลรถเบื้องต้นแบบง่ายๆ
สุขภาพจิตคนไทยดีขึ้น - ชายสุขมากกว่าหญิง
จ่ายหลักร้อย คุ้มครองหลักแสน พ.ร.บ. ช่วยได้
ภาวะไม่หลั่งปัสสาวะไม่สุด
กระดูกทารกแข็งแรงได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ขั้นตอนที่ควรรู้ เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดง