การฟ้องศาลในคดีอาญา
1 min readการฟ้องศาลในคดีอาญา
คดีอาญาจะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ คดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้ และคดี
อาญาที่ยอมความได้ การฟ้องร้องต่อศาลในคดีอาญาทั้งสองมีลักษณะในการดำเนินการ แตกต่างกัน
ในบางขั้นตอน ซึ่งจะแยกการฟ้องศาลของคดีอาญาทั้งสองลักษณะดังนี้
คดีอาญาแผ่นดิน
เมื่อเกิดอาญาแผ่นดินขึ้น เช่น มีการฆ่ากันตาย มีการปล้นทรัยพ์เกิดขึ้นในท้องที่ใด หากมีผู้
ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ทางผู้ใหญ่บ้าน กำนันก็จะรีบไปแจ้งความกับ
เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกทีหนึ่ง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาตาม
กฎหมาย
ถ้าไม่สะดวกในการไปแจ้งความต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรืออาจจะทำให้การดำเนินการจับกุม
คนร้ายไม่ทันเหตุการณ์ จะต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรงเป็นดีที่สุด การแจ้งความในคดี
อาญาแผ่นดินกระทำไดหลายทาง คือ
1. โทรศัพท์แจ้งความจะเป็นการสะดวกรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ได้ดีที่สุด ซึ่งการแจ้งความ
ทางโทรศัพท์ต้องแจ้งรายละเอียดในลักษณะของคดีอาญาที่เกิดขึ้น และบอกถึงสถานที่เกิดเหตุให้
ชัดเจน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้มาตรวจสถานที่เกิดเหตุได้ทันท่วงทีในสถานที่เกิดเหตุ สิ่งที่กระทำได้
ทันทีของผู้แจ้ง หรือผู้เห็นเหตุการณ์ ได้แก่ การนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ช่วยกันทำการดับไฟ
ส่วนเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดจากคดีอาญาไม่ควรเข้าไปจับต้อง เช่น อาวุธปืนในที่เกิดเหตุ ข้าวของที่ล้ม
กระจัดกระจายอยู่ การเคลื่อนย้ายศพ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจสอบสถาน
ที่เกิดเหตุก่อนจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเป็นอย่างยิ่ง และการแจ้งความคดีอาญาจะต้องแจ้งความต่อ
สถานีตำรวจในเขตท้องที่ที่เกิดเหตุ เราอยู่ท้องที่ใดควรจะได้ทราบเบอร์โทรศัพท์ของสถานีตำรวจใน
ท้องที่เอาไว้ เพื่อความสะดวกต่อการแจ้งเหตุ
2. แจ้งความด้วยตนเอง คือ ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากคดีอาญาอาจจะเป็นผู้ประสบเหตุการณ์เอง
หรือญาติไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรง ซึ่งการไปแจ้งความด้วยตนเองควรจะไปแจ้งความ
ต่อหน่วยบริการตำรวจ ซึ่งอาจจะเป็นป้อมยาม สายตรวจก็ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นการสะดวกกว่าที่จะไปแจ้ง
ความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุโดยตรง
3. ข่าวจากสื่อสารมวลชน ในคดีอาญาแผ่นดินถือได้ว่าเป็นการแจ้งความ อย่างหนึ่ง เพราะคดีอาญา
บางอย่างทางผู้เสียหายต้องการจะปิดไว้เพื่อการต่อรองกับคนร้าย เช่น การจับตัวไปเรียกค่าไถ่ ความผิด
อาญาในลักษณะเช่นนี้ แม้จะไม่มีผู้ใดแจ้งความทั้งทางโทรศัพท์และแจ้งความด้วยตนเอง แต่เมื่อข่าว
เกิดแพร่ไปสู่สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุก็จะต้องดำเนินการสืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง
คดีอาญาแผ่นดิน เมื่อมีผู้แจ้งความไม่ว่าจะทางใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหน้าที่ดำเนินการ
สืบสวนสอบสวน เพื่อหาพยานหลักฐานในการจับกุมคนร้าย และเมื่อทำการจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุได้
แล้ว จะทำการสอบสวนและหาพยานหลักฐาน เพื่อส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ถูก กล่าวหาไป
ยังอัยการ เพื่อพิจารณาสั่งฟ้องศาลหรือสั่งไม่ฟ้องศาลอาญาต่อไป แม้เพียงแต่ทราบข่าวโดยไม่มีผู้แจ้ง
ในความผิดอาญาแผ่นดินทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินการสืบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการ ต่อไป
แผนผังคดีอาญาแผ่นดิน
ผู้กระทำผิด | ![]() |
ผู้เสียหาย แจ้งความ หรือตำรวจ ทราบ |
![]() |
ตำรวจสืบสวนจับกุมและ สอบสวน รวบรวมหลักฐาน |
![]() |
ส่งอัยการพิจารณา ส่งฟ้องศาล |
![]() |
ศาลอาญา พิจารณา ตัดสินคดี |